Table of Contents

linkedin หางาน เชื่อว่าในปัจจุบันหลายๆ คนคงรู้จักกับแพลตฟอร์มนี้แล้ว เพราะในยุค 2022 ถือว่าการใช้ชีวิตมักอยู่ในรูปแบบบนโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ว่าจะเป็นการพูดคุย การซื้อของ การหาคู่ หรือแม้กระทั่ง “การสมัครงาน” อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึง Linkedin แน่นอนอยู่แล้วว่าจุดเด่นของแพลตฟอร์มตัวนี้คือการสร้าง Connection ในการจัดหางานในธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก จนในมีสมาชิกมากกว่า 774 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2021 และดูจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปีนี้ ดังนั้นสำหรับใครที่ไม่เคยได้ยินหรือรู้จักกับเจ้าแพลตฟอร์มตัวนี้มาก่อน ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่า linkedin คืออะไร Linkedin มีประโยชน์อย่างไร และสามารถหางานได้จริงหรือไม่

linkedin คือ อะไร ทำไมจึงเหมาะกับเหล่า Job Seekers ในปัจจุบัน

linkedin อ่านว่า ลิงก์-ทิน คือการสร้าง Connections กับผู้อื่นอีกวิธีหนึ่งบนแพลตฟอร์มออนไลน์โดยมีจุดประสงค์เรื่องธุรกิจเป็นหลัก โดยผู้ใช้บนแพลตฟอร์มนี้ประกอบด้วยอาชีพที่หลากหลาย เช่น ผู้ประกอบการ อาจารย์ นักธุรกิจ เจ้าของบริษัท หรืออาชีพอื่นๆ ที่กำลังมองหาคนที่เหมาะกับตำแหน่งงานในองค์กร รวมทั้งคนที่กำลังมองหางานที่เข้ากับทักษะที่มี ซึ่งก็จะมีผู้ที่กำลังหางาน

โดย LinkedIn คือเครือข่ายมืออาชีพบนอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก คุณสามารถใช้ LinkedIn ในการหางานหรือการฝึกงานที่ใช่ ทำความรู้จักและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางอาชีพ และเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการประสบความสำเร็จในอาชีพของคุณ คุณสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มนี้ ได้จากเดสก์ท็อปหรือ แอปบนมือถือ ก็ได้เช่นกัน สำหรับหางานในประเทศไทยเพียงคุณค้นหาคำว่า linkedin thailand ได้เลย

linkedin profile สร้างยังไง สร้างแบบไหนให้ดูน่าสนใจ

วิธีการสร้างโปรไฟล์บนแพลตฟอร์มนี้ไม่ยาก และสามารถทำให้ดูน่าสนใจได้หากเริ่มสร้างอย่างถูกวิธี ดังนี้

  • ขั้นตอนแรก ผู้สมัครควรแนะนำตัวเองอย่างมืออาชีพ โดยใน LinkedIn จะมีช่องให้ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับอาชีพอยู่ใต้รูปโปรไฟล์ ผู้สมัครสามารถกรอกข้อมูลได้ตามความเหมาะสม
  •  เนื่องจาก LinkedIn นั้นเป็นแพลตฟอร์มสร้าง Connection ที่เน้นในเครือข่ายธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ การเขียนข้อมูลต่างๆ จึงควรเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ที่กำลังหาคนเข้าทำงานเข้าถึงโปรไฟล์เราได้ง่ายขึ้น และควรใช้คำศัพท์แนวธุรกิจเพื่อทำให้เรามีความ Professional มากขึ้น
  • สำหรับส่วนของการกล่าวถึงประสบการณ์การทำงาน ผู้สมัครควรเล่าเรื่องของตนเองให้น่าสนใจ และน่าติดตาม ที่สำคัญควรเล่าให้กระชับ อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ไม่ส่งข้อมูลที่ไม่จำเป็นจนมากเกินไป
  •  อย่าลืมชี้ให้เห็นถึงความถนัด และความสามารถของคุณ รวมทั้งอธิบายประสบการณ์ของตนเองให้น่าสนใจ โดยเล่าเรื่องราวสั้นๆ ที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง
  •  สร้างเครือข่ายของตนเองด้วย เพราะเครือข่ายจะเป็นตัวบอกความน่าเชื่อถือของโปรไฟล์ของเรา แต่อย่าลืมว่าการสร้างเครือข่ายก็เหมือนกับการเพิ่มโอกาสให้คนอื่นๆ เข้ามาถึงข้อมูลเกี่ยวกับคุณ เพราะฉะนั้นต้องดูให้รอบคอบ ทางที่ดีควรเพิ่มคนที่คุณรู้จักจริงๆ เท่านั้น

linkedin ข้อดี ข้อเสีย มีอะไรบ้าง?

ข้อดี

  1. ช่วยให้เราได้เข้าไปอยู่ในเครือข่ายสังคมใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ได้ทำความรู้จัก หากแม้ไม่ได้งานก็ได้ Connection จากคนในหลายๆ แวดวง
  2. ช่วยให้เข้าถึงบอร์ดบริหารหรือฝ่าย HR โดยตรงได้ง่าย เพียงแค่กดปุ่ม Connections ก็ถือว่าเป็นการสร้าง
  3. อาจจะมีงานที่น่าสนใจเข้ามาหาเราเองโดยที่เราไม่ต้องหาและอาจจะเพิ่มโอกาสให้เราได้งานง่ายมากขึ้น
  4. ใช้เป็น Resume แบบออนไลน์ได้ ช่วยให้ในบางครั้งที่เราไม่สามารถใส่ข้อมูลบางอย่างลงไปในกระดาษได้ เราก็นำมาใส่ใน LinkedIn แทนได้

ข้อเสีย

  1. ทุกครั้งที่เราเข้าไปส่องโปรไฟล์ของคนอื่น คนที่เราไปส่องจะรู้ได้ว่าตัวเองถูกส่องและรู้ว่าใครเป็นคนส่อง
  2. งานที่ประกาศใน LinkedIn ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษหรือเป็นงานจากต่างประเทศ (ซึ่งอาจเป็นข้อดีสำหรับบางคน)

linkedin premium ราคา เท่าไหร่บ้าง?

เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ต้องการตีตลาดหลายๆ กลุ่มเป้าหมาย LinkedIn จึงถือว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีโมเดลธุรกิจ Subscription ซึ่งจะเรียกว่า LinkedIn Premium โดยมีผู้ใช้งานกว่า 39% เต็มใจยอมเสียค่าใช้จ่ายซึ่งแต่ละเรทราคาก็จะมีความ Premium ของงานที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีทั้งหมด 4 ราคาด้วยกัน ประกอบด้วย

Premium Career

เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหางาน เพราะสามารถดูได้ว่ามีใครเข้ามาดูโปรไฟล์ของเราได้บ้าง เห็นจำนวนครั้งที่ปรากฏในการค้นหา ราคาประมาณ 990 บาท/ต่อเดือน ($29.99)

Premium Business 

เหมาะสำหรับธุรกิจต่างๆ เพราะจะสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจ และค้นหาผู้คนได้อย่างไม่จำกัด  ราคาประมาณ 1,990 บาท/ต่อเดือน ($59.99)

Sales Navigator Pro

เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างยอดขายและโอกาสในการขายบนแพลตฟอร์ม เพราะจะมีตัวกรองการค้นหาขั้นสูง และเข้าถึงเครื่องมือการขายต่างๆ ได้ ราคาประมาณ 2,654 บาท/ต่อเดือน ($79.99)

Recruiter Lite (Hiring) 

เหมาะสำหรับชาว HR, Job Seeker เพราะสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ในส่วนของ Talent Solutions ทั้งหมดได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยชั้นดีในการช่วยค้นหา Candidate ได้อย่างรวดเร็วและตรงความสามารถที่บริษัทกำลังหามากที่สุด ราคาประมาณ 3,960 ต่อเดือน ($119.95)

M Creation แนะนำ

นอกจากบทความแล้วทาง M Creation ของเรายังมีบริการ รับทำ TikTok Ads, Google Ads และ Linkedin Ads ให้ท่านที่สนใจได้ใช้บริการอีกด้วย

linkedin หางานต่างประเทศ ยากหรือไม่ มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน?

จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ Linkedin คือ ทุกคนสามารถสร้างเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ของตนเอง แถมในหน้าโปรไฟล์ส่วนบุคคลก็สามารถใส่รายละเอียดประวัติการทำงาน ความสำเร็จในสายอาชีพ ทักษะต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ HR จากบริษัทต่าง ๆ สามารถเข้ามาดูและติดต่อได้ นอกจากนี้ในหน้าของการค้นหางานบน Linkedin เราก็ยังหางานจากที่ต่างๆ ได้ทั่วโลก โดยแค่กรอกชื่อตำแหน่งงานและเลือกเมืองหรือประเทศที่ต้องการ เพียงเท่านี้คุณก็จะเจองานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากบนเว็บไซต์ ซึ่งข้อดีของงานที่ประกาศอยู่บน Linkedin ส่วนหนึ่งมักจะเปิดรับชาวต่างชาติในตำแหน่งงานนั้นด้วย

อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น สำหรับใครที่สนใจอยากจะลองทดสอบหางานบนแพลตฟอร์มนี้ก็สามารถเข้าไปสร้างโปรไฟล์ตามขั้นตอนด้านบนได้ ซึ่งงานที่ผู้สมัครจะได้รับนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแพคเกจที่ทาง Linkedin กำหนด อย่างไรก็ดีการได้งานจากแพลตฟอร์มนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีทั้งสิ้นเพราะเป็นโซเชียลมีเดียที่รวบรวมงานที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือจากทั่วทุกมุมโลกมารวมไว้ ดังนั้นหากใครที่เป็นสายทำงานในต่างประเทศ ถือว่า Linkedin เป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์อีกแพลตฟอร์มหนึ่งเลยทีเดียว

FAQ คำถามที่พบบ่อย

สำหรับขั้นตอนการสมัครหรือสร้างโปรไฟล์นั้นไม่ยากอย่างที่คิด ผู้สมัครสามารถเข้าสู่แพลตฟอร์มและทำตามขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าว ได้ง่ายมากเมื่อสิ้นสุดขั้นตอนการอัปโหลดเรซูเม่ก็ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนเบื้องต้น หลังจากนั้นก็รอการติดต่อกลับหรือสร้าง Connection ทั่วไป

สมัครงานบน LinkedIn ไม่ยาก สามารถทำได้โดย

  1. คลิกตำแหน่งงานเพื่อดูรายละเอียด
  2. คลิกปุ่มสมัครอย่างง่าย/สมัครตอนนี้ที่ด้านบน
  3. ป้อนข้อมูลที่จําเป็นในหน้าจอป๊อปอัป
  4. คลิก“ตรวจทาน” เพื่อตรวจทานแอปพลิเคชัน
  5. คลิกส่งใบสมัคร

หน้าโปรไฟล์ คือ หน้าแรกของการแนะนำคุณสมบัติเฉพาะตัวด้านการทำงานของตนเองของผู้สมัคร และเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการบอกให้ผู้คนรู้ถึงตัวตนของเรา  โดยบริษัทหรือฝ่าย HR ที่กำลังหาผู้ร่วมงานสามารถค้นพบประวัติของผู้สมัครและรับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกิจกรรมของผู้สมัครนั้นได้ ดังนั้น ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าโปรไฟล์ของตนเองว่ามีความสมบูรณ์แล้วหรือไม่ และแสดงตัวตนของผู้สมัครได้มากน้อยแค่ไหน

ขั้นตอนการสร้างโปรไฟล์

  • เลือกอาชีพหรือตำแหน่งที่สนใจ
  • อัปโหลดโปรไฟล์หรือเรซูเม่ที่เตรียมไว้ขึ้นบนแพลตฟอร์ม
  • สร้างเครือข่ายเพื่อให้ผู้อื่นสามารถเห็นประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์สำคัญที่คุณแชร์ได้

1. ค้นหางาน

2. คลิกหรือแตะที่ตำแหน่งงานเพื่อดูรายละเอียด

3. คลิกหรือแตะที่ปุ่ม สมัครอย่างง่าย

  •  หมายเหตุ: หากคุณเห็นปุ่ม สมัคร แทนปุ่ม สมัครอย่างง่าย คุณอาจจะถูกนำไปยังเว็บไซต์ของบริษัทนั้น หรือถูกนำไปยังกระดานรับสมัครงานเพื่อดำเนินการสมัครงานต่อไป

4. ป้อนข้อความในฟิลด์ที่กำหนด

5. ใต้ ประวัติย่อ (ไม่บังคับ) ให้เลือก อัปโหลดประวัติย่อ เพื่ออัปโหลดประวัติย่อของคุณ

  • หมายเหตุ: หากคุณไม่ได้เข้าสู่ระบบ LinkedIn คุณจำเป็นต้องอัปโหลดประวัติย่อ
  • ขอแนะนำให้ใช้ขนาดไฟล์เล็กกว่า 2MB และรูปแบบไฟล์ต้องเป็น Microsoft Word หรือ PDF

6. คลิกหรือแตะ ส่งใบสมัคร เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น

อาจกล่าวได้ว่ายากสำหรับ Internship และ First Jobber เพราะนายจ้างหรือแมวมองจากต่างประเทศนักมักเลือกคนที่เคยผ่านการทำงานหรือมีประสบการณ์มาบ้างแล้ว อย่างไรก็ดี หากผู้สมัครอยากได้งานจริงๆ ก็ต้องมีความจริงจังในเรื่องของการสร้างโปรไฟล์ของตนเองให้โดดเด่นและน่าสนใจ รวมถึงภาษาอังกฤษที่ใช้ก็ต้องเป็นคำศัพท์ที่เป็นทางการและเชิงธุรกิจเพื่อทำให้ดูเป็น Professional มากขึ้นก็จะเพิ่มโอกาสได้เช่นกัน

Share :

Facebook