Table of Contents

สมัคร linkedin เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้อาจเป็นแพลตฟอร์มที่ใหม่สำหรับใครหลายๆ คน นั่นจึงเหตุผลที่อาจทำให้สับสนและสงสัยในวิธีการใช้กันอยู่บ้าง ซึ่งต้องบอกก่อนว่า Linkedin ไม่ได้มีวิธีการสมัครและการใช้ที่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ผู้ใช้ต้องเข้าใจในขั้นตอนการสมัครหรือการใช้เบื้องต้นเสียก่อน หลังจากนั้นก็จะพบว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ง่ายมากๆ อีกหนึ่งแพลตฟอร์มเลยทีเดียว

Linkedin คืออะไร มาทำความรู้จักก่อนเริ่มต้นใช้

LinkedIn เป็นเครือข่ายมืออาชีพที่มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันมีมากกว่า 760 ล้านโปรไฟล์ เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลที่มีจุดเน้นที่ชัดเจนซึ่งออกแบบมาสำหรับโลกแห่งการทำงาน โดยพยายามเชื่อมโยงมืออาชีพกับบริษัทจากทุกภาคส่วน และเสนอชุดเครื่องมือที่หลากหลายและครบถ้วนแก่ผู้สรรหาบุคลากรเพื่อค้นหาผู้มีความสามารถใหม่ ซึ่ง User ของแพลตฟอร์มนี้อาจเป็นได้ทั้งผู้ที่กำลังหาตำแหน่งงาน หรือองค์กรต่างๆ ที่กำลังหาผู้ร่วมงานก็ได้เช่นกัน

สมัคร linkedin ยังไง สมัครยากไหม ใช้งานยากหรือเปล่า?

สำหรับการใช้ linkedin หางาน ขั้นตอนการสมัครถือเป็นขั้นตอนที่หนักใจสำหรับใครหลายๆ คนสำหรับการใช้แพลตฟอร์มนี้อย่างชำนาญและใช้ให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ดี แพลตฟอร์มนี้ค่อนข้างมีลักษณะการใช้ที่ User Friendly ในระดับหนึ่ง กล่าวคือ ไม่ได้มีความยากจนเกินไปถึงขั้นที่ผู้ใช้จะไม่สามารถใช้งานได้เลย ดังนั้นสิ่งสำคัญคือเราต้องเริ่มเรียนรู้วิธีการสมัครและการใช้งานเบื้องต้นเสียก่อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สมัครงานบน LinkedIn ไม่ยาก สามารถทำได้โดย

  • คลิกตำแหน่งงานเพื่อดูรายละเอียด
  • คลิกปุ่มสมัครอย่างง่าย/สมัครตอนนี้ที่ด้านบน
  • ป้อนข้อมูลที่จําเป็นในหน้าจอป๊อปอัป
  • คลิก“ตรวจทาน” เพื่อตรวจทานแอปพลิเคชัน
  •  คลิกส่งใบสมัคร

linkedin ใช้ยังไง เริ่มง่ายๆ ด้วย 7 ขั้นตอนนี้

หลังจากเริ่มสมัครให้มีบัญชีบนแพลตฟอร์มแล้ว ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นการใช้งาน Linkedin ได้ง่ายๆ ดังนี้

1. สมัครสมาชิก

หรือขั้นตอนการสมัครบัญชีบน Linkedin ที่จะสามารถทำให้ผู้ใช้เริ่มต้นใช้งานบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างสะดวก ซึ่งผู้สมัครสามารถดำเนินการเปิดบัญชีด้วยขั้นตอนดังกล่าวได้ จากนั้นก็จะสามารถเข้าสู่การใช้งานฟีเจอร์อื่นๆ ในลำดับถัดไป

2. อัปโหลดโปรไฟล์

หลังจากสร้างบัญชีเสร็จแล้ว ผู้ใช้ต้องทำการเข้ามากรอกหรือเพิ่มเติมข้อมูลใส่ในโปรไฟล์ของตนเองเพื่อให้มีความละเอียดและน่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากแพลตฟอร์ม Linkedin นั้นเป็นเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ชนิดหนึ่ง ที่ผู้ใช้ท่านอื่นๆ สามารถเห็นและเข้ามาดูโปรไฟล์ของเราได้ ดังนั้นหากใครที่กำลังหางานอยู่ linkedin profile ยิ่งน่าสนใจ ดึงดูด มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีมากเท่านั้น

3. นำเสนอตนเองด้วยประสบการณ์

ผู้ใช้ที่ต้องการสมัครงานควรแสดงประสบการณ์ สิ่งที่เคยทำในองค์กรต่างๆ ไว้ให้ชัดเจน รวมถึงรวบรวมข้อมูลสรุปว่างานและความรับผิดชอบของคุณที่เคยผ่านมาคืออะไร เพราะมันจะไม่มีประโยชน์เลยหากเพียงแสดงว่าคุณเคยทำงานใน บริษัทชั้นนำ แต่ไม่ได้อธิบายถึงสิ่งที่เคยทำที่นบริษัทนั้นๆ

4. จัดรูปแบบ URL โปรไฟล์

เนื่องจากโปรไฟล์สาธารณะใน LinkedIn จะมีลักษณะเป็น www.linkedin.com/pub/XXXXXXXXXX/40/9a0/854 ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเพื่อระบุตัวตนของตนเองและทำให้จำง่ายขึ้นได้ เช่น www.linkedin.com/in/faizanpatankar

ผู้ใช้สามารถเข้าไปเปลี่ยน URL ได้จากขั้นตอนต่อไปนี้

  • โดยไปที่หน้าโปรไฟล์ของคุณและเลือก “แก้ไขโปรไฟล์” จากส่วน “โปรไฟล์” บนแถบเมนูหลักที่ด้านบน
  • ไปที่ลิงก์ถัดจาก “โปรไฟล์สาธารณะ” ในช่องด้านหน้า
  • คลิก “แก้ไข” เพื่อแก้ไข URL
  •  ไปที่ช่อง “URL โปรไฟล์สาธารณะของคุณ” ในแผงด้านขวามือของหน้า
  • คลิกที่ “กำหนด URL โปรไฟล์สาธารณะของคุณเอง”

โดยการเปลี่ยน URL เช่นนี้จำเป็นสำหรับคนหางานมากๆ เพราะว่าการเปลี่ยน URL อาจส่งผลให้ตัวแทนจากองค์กรต่างๆ จำประวัติของผู้ใช้ได้มากขึ้น

M Creation แนะนำ

นอกจากบทความแล้วทาง M Creation ของเรายังมีบริการ รับทำ TikTok Ads, Google Ads และ Linkedin Ads ให้ท่านที่สนใจได้ใช้บริการอีกด้วย

5. เข้าร่วมกลุ่มสนทนาบ้าง

จริงอยู่ที่จุดประสงค์หลักของผู้ที่เข้าใช้แพลตฟอร์มนี้อยากจะเข้ามาหางานทำ แต่ต้องไม่ลืมว่า Linkedin เป็นแพลตฟอร์มที่มีจุดประสงค์ในการสร้างเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ ดังนั้นต้องสร้างตัวตนไว้มากๆ เพื่อที่จะได้เกิด Connection ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งให้การได้งานเพิ่มขึ้นไปอีก

6. ใช้คำคีย์เวิร์ดที่สำคัญและเหมาะสม

เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้ที่กำลังหางาน โดยการใช้คีย์เวิร์ดนั้นคือการอธิบายตนเองอย่างหนึ่งด้วยคำไม่กี่คำ เช่น  “Online Media Practitioner” หรือ ผู้สนใจใฝ่รู้ในเรื่องสื่อออนไลน์ เป็นต้น เพื่อให้ฝ่าย HR หรือตัวแทนจากองค์กรนั้นๆ หรือผู้ใช้ท่านอื่นบนแพลตฟอร์มทราบถึงตัวตนและสิ่งที่สนใจของผู้ใช้อย่างชัดเจน

7. ขอคำแนะนำจากเครือข่าย

จากที่กล่าวไปว่า กุญแจสำคัญของ LinkedIn คือการมีเครือข่าย ดังนั้นการมุ่งหางานอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์เสมอไป ดังนั้นผู้ใช้ต้องหมั่นสร้าง interactions กับผู้อื่นโดยการขอคำแนะนำ พูดคุย ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการได้งานในอนาคตอีกวิธีหนึ่งนั่นเอง

สมัคร linkedin ในนามบริษัท เพื่อหาคนเข้าทำงาน ยากไหม มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

สำหรับแพลตฟอร์ม  LinkedIn นั้นจะถือว่าเป็นตัวแทนขององค์กรของคุณบน LinkedIn หน้าเพจสามารถช่วยให้ผู้สมัครงานบน LinkedIn เรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจ แบรนด์ สินค้าและบริการ และการรับสมัครงานต่างๆ ในบริษัทของคุณได้

สร้าง LinkedIn บริษัท มีขั้นตอนอย่างไร ?

1. คลิกไอคอน งาน ที่มุมบนขวาของหน้าแรก LinkedIn ของตนเอง

2. เลื่อนลงแล้วคลิก สร้างหน้าเพจของบริษัท

3. เลือกประเภทของหน้าเพจที่ผู้ใช้ต้องการสร้างจากตัวเลือกต่อไปนี้:

  • บริษัท
  • หน้า Showcase
  • สถาบันการศึกษา

4. ป้อนข้อมูลเฉพาะของหน้าเพจ รายละเอียดของบริษัทหรือสถาบัน และข้อมูลรายละเอียดโพรไฟล์

5. ทำเครื่องหมายที่กล่องยืนยัน เพื่อยืนยันว่าผู้ใช้มีสิทธิ์ดำเนินการในนามของบริษัทหรือสถาบันการศึกษาในการสร้างหน้าเพจ

6. คลิกปุ่ม สร้างหน้าเพจ

  •  หากคุณได้รับข้อความแสดงข้อผิดพลาดสีแดง คุณจะต้องแก้ไขปัญหาในการสร้างหน้าเพจของคุณ

7. คลิกเริ่มสร้างหน้าเพจกันเลย เพื่อทำให้หน้าเพจ LinkedIn ของคุณสมบูรณ์

สมัคร linkedin ไม่ได้ ทำยังไงดี ต้องแก้ไขตรงไหนจึงจะสมัครได้?

มีกรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้ใช้อีเมลที่ตนเองใช้ในการลงทะเบียนบัญชี LinkedIn อีกต่อไปแล้วหรือไม่สามารถเข้าใช้อีเมลดังกล่าว เราแนะนำให้ผู้ใช้ลงชื่อเข้าใช้ด้วย อีเมล์ที่สอง หรือ หมายเลขโทรศัพท์ ที่เชื่อมโยงกับบัญชีของตนเองก่อน โดยสามารถลงชื่อเข้าใช้ด้วยอีเมลใดก็ได้หรือหมายเลขโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงกับบัญชีของตนเอง

หากผู้ใช้ไม่สามารถกู้คืนรหัสผ่านหรือไม่สามารถเข้าถึงอีเมลที่เชื่อมโยงกับบัญชีของผู้ใช้เอง ซึ่งทาง Linkedin สามารถช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ท่านนั้นๆ

เพื่อเป็นการยืนยันตัวตน ผู้ใช้สามารถทำตามได้ ตามขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้:

1.  คลิกที่ ลืมรหัสผ่าน บนหน้าจอลงชื่อเข้าใช้

2.  ป้อน ID อีเมลที่เชื่อมโยงกับบัญชีของคุณในปัจจุบันและคลิกที่ รีเซ็ตรหัสผ่าน

3.  ในหน้าจอต่อไปนี้ ระบบจะขอให้คุณป้อนรหัสยืนยันที่ส่งไปยังอีเมลของคุณ

4.  เนื่องจากผู้ใช้ไม่มีสิทธิเข้าถึงบัญชีอีเมล์ได้ ดังนั้น ให้คลิกที่ ไม่สามารถเข้าถึงอีเมลนี้ได้ใช่ไหม

5.  จากนั้นป้อนที่อยู่อีเมลใหม่ที่คุณต้องการเชื่อมโยงกับบัญชีของคุณ

6.  ต่อไป ทาง Linkedin จะขอให้ผู้ใช้ยืนยันตัวตนโดยใช้ภาพหนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวซึ่งรัฐบาลออกให้ที่ถูกต้อง หลังจากที่คุณส่งภาพแล้ว เราจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลของคุณและจะติดต่อคุณเพื่อช่วยเหลือคุณในขั้นต่อไป

อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงการใช้เบื้องต้นของแพลตฟอร์มนี้เท่านั้น ซึ่งทั้งทางผู้ใช้ที่ต้องการสมัครงานหรือฝ่ายองค์กรต่างๆ ที่กำลังมองหาคนร่วมงานเอง ต่างก็ต้องทำความเข้าใจและฝึกใช้ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งต้องบอกว่าหากได้ลองใช้ไปเรื่อยๆ ทั้ง 2 ฝ่ายจะได้รับทักษะที่ดีในการสร้าง Connection ใหม่ๆ อย่างแน่นอน ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว และเป็นประโยชน์มากๆ ในปี 2022

Share :

Facebook