เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเข้าเว็บสมัครงาน หรือ ไปสมัครงานที่บริษัทยักษ์ใหญ่ถึงจะเจอข้อมูลที่ฝากไว้ในเว็บไซต์เว็บหนึ่งที่ชื่อว่า “Linkedin” ซึ่งดูเผิน ๆ ก็อาจจะรู้สึกว่าเป็นเว็บไซต์เครือข่ายชุมชนทั่วไป และอาจจะเกิดความสงสัยว่า ทำไม “Linkedin” ถึงเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมที่คนมักจะใส่ข้อมูลส่วนตัวและประวัติทำงานไว้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ พร้อมทั้งจุดเด่นของ Linkedin ที่หากคุณทราบแล้วจะต้องรู้สึกอยากใช้งานอย่างแน่นอน
Linkedin คืออะไร? มีวัตถุประสงค์อะไร
เว็บไซต์ LinkedIn คือแพลตฟอร์ม Social Media ชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ โดยเฉพาะการใช้งาน Linkedin Jobs เช่น การลงประกาศหาคนมาทำงานในองค์กร หรือในทางกลับกันก็สามารถใช้ Linkedin หางานได้เช่นกันเพราะผู้สมัครสามารถนำประวัติการทำงานที่น่าสนใจมาสร้างโปรไฟล์ไว้ เผื่อเปิดโอกาสให้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่อาจจะกำลังหาคนที่มีคุณสมบัติตรงกับคุณอยู่ สามารถพบเจอคุณและติดต่อคุณได้นั่นเอง
LinkedIn มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้สมัครงานและธุรกิจ
หากพิจารณากันอย่างผิวเผิน หลานคนอาจจะคิดว่า LinkedIn นั้นเหมาะสมกับคนที่ต้องการหางานเพียงอย่างเดียว เพราะว่าผู้สมัครงานนั้นจำเป็นต้องทำทุกทางให้ประวัติอาชีพและทักษะของตนอยู่ในสายตาบริษัทใหญ่เท่านั้น แต่ความจริงแล้วทฤษฎีนั้นถูกต้องเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากลักษณะการหางานของคุณรุ่นใหม่นั้นมีความเปลี่ยนแปลงไป เพราะคนรุ่นใหม่พวกเขาไม่ได้รอให้บริษัทเลือกเขา แต่เขาก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกบริษัทเช่นเดียวกัน หากบริษัทนั้นมีข้อมูลธุรกิจที่น้อย หรือไม่มีข้อมูลธุรกิจเลย ก็ส่งผลต่อความมั่นคง และกลายเป็นตัวเลือกท้าย ๆ ในการเลือกเช่นกัน
จริงอยู่ที่ในมุมของบริษัทอาจจะคิดว่า แค่พนักงานคนเดียวที่ไม่สนใจเรา ทำไมต้องง้อด้วย เพราะยังมีคนที่สนใจอีกมากแต่ลองมองในทางกลับกันว่า หากคุณมีตัวเลือกในการเลือกหน้างานได้มากขึ้น และยังเพิ่มโอกาสที่จะได้พนักงานที่มีทักษะโดดเด่นให้เลือกมากมาย ดังนั้นการที่บริษัทเองที่มีข้อมูลใน LinkedIn ที่ครบเองก็เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถดึงดูดผู้ที่มีทักษะที่คุ้มค่าเข้ามาร่วมงานด้วยเช่นกัน
ดังนั้นในคำถามที่ว่า LinkedIn เหมาะกับใคร? ต้องขอตอบว่า เหมาะกับธุรกิจและพนักงานทุกคนที่กำลังมองหาความเติบโตก้าวหน้า ก็สามารถใช้งาน LinkedIn ในการเปิดโอกาสให้ตนเองได้เต็มประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
ข้อดีและข้อเสียของ LinkedIn ที่โดดเด่น
Linkedin ข้อดี ข้อเสียนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ 2 มุมมองดังนี้
การใช้ Linkedin หางานในมุมของพนักงานทั่วไป / ผู้หางาน
- ช่วยให้สามารถศึกษาข้อมูลของงานที่สนใจได้มากขึ้น
- เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้บันทึกประวัติการทำงานที่ผ่านมา ตลอดจนทักษะต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ใช้งานง่าย ออนไลน์ตลอด
- ช่วยเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในสายงาน
- ช่วยเพิ่ม Connections ในสายงานได้ง่ายขึ้น
- ใช้เป็น Resume ออนไลน์ได้ ทำให้สะดวกต่อการสมัครงาน
ในมุมของธุรกิจ / บริษัท / ผู้ประกอบการ
- ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัท
- ช่วยให้สามารถค้นหาผู้สมัครงาน ทักษะของผู้สมัครที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
- ช่วยให้สามารถเลือกคนเข้ามาทำงานได้อย่างตรงจุด และตรงต่อความต้องการของบริษัท
จุดด้อย LinkedIn
- โปรไฟล์บัญชีจะเป็นออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ และหากมีคนเข้ามาดูจะทราบทันทีว่า ใครเข้ามาบ้าง
- บางฟีเจอร์จำเป็นต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติมในการเปิดใช้งาน
- มีสายอาชีพที่ไม่ได้หลากหลาย ถ้าเทียบกับเว็บไซต์หางานทั่วไป เพราะ Linkedin จะนิยมหางานในสายงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะสูง เช่น สายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาษาที่สาม เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น
LinkedIn สมัครใช้งานอย่างไร
ในการใช้งานเริ่มแรก จำเป็นจะต้องสมัครเข้าใช้งานก่อน โดยการใช้งาน LinkedIn นั้นจะถูกแบ่งออกเป็นผู้ใช้งานบัญชีธรรมดา (ใช้งานฟรี) และ Linkedin Premium (มีค่าใช้จ่าย) ซึ่งในแบบ Linkedin Premium นั้นจะสามารถปลดล็อกฟังก์ชันการใช้งานได้มากกว่าแบบใช้ฟรี โดยสามารถสมัครใช้งาน Linkedin ได้ที่ https://www.linkedin.com/
วิธีสมัคร Linkedin ในนามบริษัท
สำหรับบริษัทที่ต้องการสร้างหน้าเพจเพื่อลงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทบน Linkedin สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
- คลิกไอคอน “จุด 9 จุด” มุมบนขวาของหน้าแรก LinkedIn
- เลือกเมนู “สร้างหน้าเพจของบริษัท” จากนั้นระบบจะพาท่านที่การเลือกประเภทของหน้าเพจ คือ
- บริษัท
- หน้า Showcase
- สถาบันการศึกษา
- เลือกประเภท แล้วใช่ข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดลงไปให้ครบ
- ยืนยันสิทธิ์ในนามของบริษัทหรือสถาบันการศึกษา
- กดยืนยันสร้างหน้าเพจ สามารถใช้งานได้ทันที
ค่าใช้จ่าย LinkedIn
การใช้งาน Linkedin นั้นสามารถใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่าผู้ใช้งานจะสมัครเป็น Linkedin Premium เพื่อปลดล็อกฟังก์ชันเพิ่มเติม โดยค่าใช้จ่ายจะแบ่งเป็น 4 ราคา ดังนี้
- Premium Career ค่าใช้จ่ายราคา $29.99 ต่อเดือน หรือประมาณ 990 บาทไทย
- Premium Business ค่าใช้จ่ายราคา $59.99 ต่อเดือน หรือประมาณ 1,990 บาทไทย
- Sales Navigator Pro ค่าใช้จ่ายราคา $79.99 ต่อเดือน หรือประมาณ 2,645 บาทไทย
- Recruiter Lite (Hiring) ค่าใช้จ่ายราคา $119.95 ต่อเดือน หรือประมาณ 3,960 บาทไทย
Linkedin Premium VS Linkedin Basic ต่างกันอย่างไร?
ความจริงแล้วการใช้บริการ Linkedin นั้นไม่ได้บังคับว่าผู้ใช้งานจะต้องใช้แบบเสียเงินเท่านั้น แต่ว่าการปลดล็อก Linkedin Premium ก็จะช่วยเพิ่มฟีเจอร์บางอย่างที่แตกต่างกัน ดังนี้
Linkedin Basic
- ผู้ใช้งานสามารถค้นหาและติดต่อกับเพื่อนร่วมงานและคนที่รู้จักได้
- สามารถขอและให้คำแนะนำ
- สามารถค้นหาและดูโปรไฟล์ของผู้ใช้งาน LinkedIn คนอื่น ๆ ได้
- สามารถรับข้อความ InMail แบบไม่จำกัด
- สามารถบันทึกการค้นหาได้สูงสุด 3 รายการ และผู้ใช้งานจะสามารถรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการค้นหาเหล่านี้ทุก ๆ สัปดาห์
(Linkedin Basic จะค่อนข้างเหมาะกับผู้ใช้งานทั่วไป หรือกลุ่มพนักงานเป็นหลัก)
Linkedin Premium
- ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นรายชื่อผู้ชมโปรไฟล์ทั้งหมดใน 90 วันที่ผ่านมา
- สามารถดูข้อมูลเชิงลึกของผู้ชมได้
- มีฟีเจอร์ที่ช่วยสรุปข้อมูลเชิงลึกของผู้ที่เข้าชม แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผู้เข้าชมเป็นรายสัปดาห์
(Linkedin Premium จะค่อนข้างเหมาะกับกลุ่มธุรกิจ และสายงาน HR)
M Creation แนะนำ
นอกจากบทความแล้วทาง M Creation ของเรายังมีบริการ Linkedin Ads, Google Adsและ รับทำ TikTok Ads ตลอดไปจนถึง Facebook Ads ให้ท่านที่สนใจได้ใช้บริการอีกด้วย
วิธีใช้งาน LinkedIn
หลังสมัครเข้าใช้งานแล้ว ผู้ใช้งานสามารถสร้าง linkedin profile สำหรับฝากประวัติการทำงานได้ โดยฟีเจอร์การใช้งานหลัก ๆ ของ Linkedin จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
Home
มีลักษณะเหมือนฟีดหน้าหลักของแพลตฟอร์ม ซึ่งสิ่งที่ปรากฏบนฟีดจะเป็นข้อมูลที่ระบบค้นหาอาจจะแสดงให้คุณเห็นหากระบบมองว่ามีความเกี่ยวข้องกับคุณ หรือ อาจจะแสดงข้อมูลของงาน ทักษะงาน หรือบริษัทงานที่เกี่ยวข้องที่คุณติดตามไว้
Profile
ส่วนนี้จะมีลักษณะคล้าย ๆ หน้าโปรไฟล์ของแพลตฟอร์มออนไลน์ทั่วไปที่จะแสดงข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ รูป ที่อยู่ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ทักษะการทำงาน Resume หรือ CV ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ สามารถเปิดเข้ามาดูได้ หากต้องการลงข้อมูลเพื่อใช้ในการสมัครงาน แนะนำให้ใส่รายละเอียดให้เยอะที่สุด และไม่ควรเลือกโทนสีที่ฉูดฉาดจนเกินไปเพราะจะทำให้อ่านยาก
Search bar
เป็นฟีเจอร์ที่เน้นการใช้งานหลัก ๆ คือ ใช้ค้นหากิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบน Linkedin เช่น กลุ่มงาน รายละเอียดบริษัท โพสต์หางาน ตำแหน่งงานโพสต์เครือข่ายงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ผู้ค้นหาสามารถค้นหาได้แบบตรงตัว หรือจะใช้คำค้นหาแบบกรองคุณสมบัติพิเศษก็ได้ เพื่อผลลัพธ์ที่เจาะจงและตรงกับที่ตรงการมากขึ้น
My Network
เป็นข้อมูลที่ขึ้นแสดงถึงบุคคลที่คุณเพิ่ม Connections ไว้ หากนึกภาพง่าย ๆ จะมีลักษณะคล้ายกับเมนูเพื่อนทั้งหมดใน Facebook ฟีเจอร์นี้คุณสามารถใช้ในการค้นหาเพื่อน คนที่รู้จัก หรือผู้ร่วมสถาบันเดียวกันเพื่อเชื่อมต่อกันได้
Jobs
เป็นฟีเจอร์พื้นที่สำหรับการโพสต์หาคน หางาน โดยฟีเจอร์นี้จะมีการกรองรายละเอียดงานให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหางานที่กำลังเปิดรับอยู่ที่ตรงกับทักษะตน และจะขึ้นแนะนำงานที่มีแนวโน้มว่าตรงกับทักษะของคุณ ให้คุณสามารถเข้าไปดูและตัดสินใจได้ว่าจะส่งใบสมัครหรือไม่?
Messaging
เป็นฟีเจอร์บทสนทนาส่วนตัว (Inbox) สำหรับผู้ที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งงาน หรือต้องการยื่น CV กับ HR โดยตรง โดยฟีเจอร์นี้นอกจากจะสามารถพูดคุยได้แบบออนไลน์แล้ว ยังสามารถแนบไฟล์ต่าง ๆ เช่น ไฟล์ CV ไฟล์รูปภาพได้อีกด้วย
Notifications
เป็นระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติเพื่อให้คุณสามารถได้รับข่าวสาร ข้อความ และการติดต่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันตำแหน่งงานได้อย่างว่องไว นอกจากจะแจ้งเตือนเกี่ยวกับผู้ที่ติดต่อมาแล้ว ยังสามารถแจ้งเตือนกิจกรรมที่คุณอาจจะสนใจเพื่อแนะนำเพิ่มเติมได้อีกด้วย
วิธีสมัครงานผ่าน Linkedin
สำหรับผู้ใช้งาน หากคุณพบตำแหน่งงานที่ตรงกับความต้องการและทักษะของคุณ คุณสามารถส่งใบสมัครได้ทันที โดยในโพสต์นั้น ๆ ที่ด้านบนของโพสต์จะพบปุ่มที่เขียนว่า “สมัครงานอย่างง่าย / สมัครงานตอนนี้” เมื่อคุณกดเข้าไประบบจะพาคุณไปยังหน้าที่ใช้ในการกรอกรายละเอียดเพิ่มเติม ให้คุณกรอกข้อมูลที่บริษัทต้องการ ตรวจสอบข้อมูลและกดยืนยัน ใบสมัครจะถูกส่งไปยัง HR ของบริษัทที่เปิดรับสมัครอยู่ทันที ในกรณีที่ข้อมูลที่ส่งไปมีข้อผิดพลาด หรือต้องการแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม จะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่คุณสามารถติดต่อกับ HR บริษัทนั้น ๆ ที่ e-mail โดยตรง
สรุปแล้วLinkedin ดีไหม?
สำหรับการใช้งานแพลตฟอร์ม Linkedin นั้นถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการหางาน หรือต้องการมองหาความก้าวหน้าในสายงานแบบใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทั้งฝั่งของพนักงานและฝั่งบริษัท เพราะว่าทั้งสองฝ่ายสามารถมองเห็นรายละเอียดภาพรวมเกี่ยวกับงานได้ทั้งหมด ช่วยเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจได้มากขึ้น
ฟีเจอร์บนแพลตฟอร์มยังใช้งานง่าย สามารถใช้ได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและอุปกรณ์เคลื่อนที่ และยังสะดวกมาก ๆ เมื่อเทียบกับเว็บไซต์หางานทั่วไปที่เวลาสมัครงานจะต้องส่งเอกสารมากมาย และต้องย้ายแพลตฟอร์มเวลาส่งเอกสาร แต่ใน Linkedin ขั้นตอนทุกอย่างจะถูกย่อลงให้สามารถกดส่งได้ภายในคลิกเดียว แถมยังสามารถพูดคุยกับฝั่งบริษัทได้โดยตรงแบบออนไลน์ ไม่ต้องรออีกด้วย
นอกจากนี้ในมุมของผู้ใช้งาน หากทักษะของคุณเป็นที่ต้องการและน่าสนใจอยู่แล้ว คุณอาจจะไม่ต้องส่งใบสมัครเอง แต่อาจจะได้รับการติดต่อโดยตรงกับบริษัทเพื่อยืนข้อเสนอเลยทันทีก็ได้ ดังนั้นถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่น่าสนใจเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลายมาก ๆ และยังตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ สำหรับใครที่ยังไม่มีโปรไฟล์ประวัติตัวเองบนแพลตฟอร์ม Linkedin แนะนำว่าให้รีบไปสมัครไว้เลย