“คนรุ่นใหม่ ไม่ได้มีรายได้เพียงช่องทางเดียว” คำพูดนี้ฟังดูจะไม่เกินจริงนัก เพราะคนรุ่นใหม่มักจะเสาะหาความรู้และวิธีเพิ่มรายได้ให้ตัวเองเก่งมากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันก็มีช่องทางออนไลน์มากมายให้คนเข้าไปสมัครใช้งานและเปิดร้านขายของด้วยตัวเองได้ด้วยวิธีง่ายๆ หรือเรียกเป็นศัพท์ทางการตลาดว่า “Affiliate Marketing” วันนี้เราจึงจะมาพูดถึงช่องทางการทำการตลาดที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่นี้ให้ฟังกันครับ
Affiliate Marketing คืออะไร?
หากพูดว่า Affiliate Marketing แบบชื่อเต็มยศ สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้คลุกคลีอยู่ในวงการนักการตลาดอาจจะไม่เข้าใจ แต่หากพูดถึงการโปรโมทสินค้าด้วยการรับฝากลิงก์สินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของคนกลาง หากมีคนสนใจและกดสั่งซื้อสินค้าผ่านลิงก์ของคนกลางนั้นๆ ก็จะทำให้สินค้าขายของได้และคนกลางก็จะได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดได้รายได้จากยอดขายนั้นๆ ตามสัดส่วนที่บริษัทกำหนดได้ง่ายๆ นั่นเอง
องค์ประกอบของ Affiliate Marketing มีอะไรบ้าง?
- Advertiser ธุรกิจหรือแบรนด์ที่ต้องการโปรโมทสินค้า
- Publisher / Influencer /KOLS ที่บริษัทเลือกให้ช่วยโปรโมทสินค้า
- Customer ผู้บริโภคซึ่งอาจจะเป็นผู้ติดตามของ Influencer หรือ KOLS ท่านนั้นๆ
ขั้นตอน Affiliate Marketing ทํายังไง?
- เริ่มแรกแบรนด์จะต้องทำการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดที่ต้องการทำเสียก่อนว่าทำเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น ต้องการเพิ่มยอดขาย ต้องการเพิ่มยอดคลิกเข้าชมสินค้า ต้องการยอดผู้สมัคร ต้องการยอดจองหรือต้องการให้ Customer เข้ามาที่หน้าร้านหรือสาขาเพื่อให้เซลล์ปิดการขาย
- เลือก Publisher / Influencer /KOLS ที่มีความเหมาะสมและคาดว่ามีกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะตรงกับกลุ่มผู้บริโภคของท่าน
- ติดต่อ Publisher / Influencer /KOLS ท่านนั้นๆ เพื่อแจ้งรายละเอียด ขั้นตอนการทำงาน และผลตอบแทน ในขั้นตอนนี้ท่านสามารถเลือก Publisher / Influencer /KOLS หลายๆ ท่านได้
- กำหนด Code หรือ link ที่สามารถระบุที่มาได้อย่างชัดเจนว่า มาจาก Publisher / Influencer /KOLS ท่าไหน เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูลและวัดผล
- สรุปผลการทำการตลาด
- จ่ายค่าตอบแทน
การทำ Affiliate Marketing ตัวอย่าง
แบรนด์อันโน (Unkwon) มีสินค้าคือ สกินแคร์ลดสิวหายภายใน 7 วัน ต้องการเพิ่มยอดการสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ จึงจ้าง “โนเนม (No Name)” อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังให้นำการรีวิว+พูดถึงสินค้า พร้อมกำหนด Code หรือ link ให้โนเนมระบุชี้ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าในโพสต์ของเธอ เมื่อโนเนมโพสต์สินค้าลงไป และหากมีคนสนใจกดเข้าไปสั่งซื้อที่ลิงก์สินค้าที่กำหนดไว้ ก็จะเท่ากับว่า ลูกค้าที่สั่งซื้อนั้นมาจากช่องทางของโนเนม ทำให้รายได้ส่วนหนึ่งก็ถูกส่งไปให้โนเนมด้วยตามเปอร์เซ็นต์ที่ระบุไว้ตามที่สัญญาของแบรนด์เป็นผู้กำหนดและตกลงไว้ตั้งแต่เริ่มงานนั่นเอง
เงื่อนไขผลตอบแทนของ Affiliate Marketing คิดอย่างไร?
โดยปกติแล้วค่าตอบแทนของ Affiliate Marketers นั้นจะถูกกำหนดตามที่แผนงานการตลาดที่ทางแบรนด์กำหนดเอง แต่ว่าจะมีเงื่อนไขแบ่งประเภทอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1. Pay Per Sale (PPS)
หมายถึงค่าตอบแทนจะถูกจ่ายขึ้นก็ต่อเมื่อ Customer กรอก Code หรือ Link ที่มาจาก Publisher / Influencer /KOLS ท่านนั้นๆ แล้วเกิดเป็นยอดขาย ทางบริษัทจะจ่ายค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายนั้นๆ
2 .Pay Per Lead (PPL)
หมายถึง ค่าตอบแทนจะถูกจ่ายขึ้นก็ต่อเมื่อ Customer กรอกLink ที่มาจาก Publisher / Influencer /KOLS ท่านนั้นๆ แล้วเกิดเป็นยอดผู้ลงทะเบียน
3. Pay Per Click (PPC)
หมายถึง ค่าตอบแทนจะถูกจ่ายขึ้นก็ต่อเมื่อ Customer คลิก Link ที่มาจาก Publisher / Influencer /KOLS ท่านนั้นๆ เข้าไปในเว็บไซต์ ไม่ว่า Customer จะสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ ทางบริษัทก็จะจ่ายผลตอบแทนตามจำนวนคลิกที่คลิกเข้าไปตามจริง
Affiliate Marketing มีข้อดีอย่างไร
วิธีทำการตลาดแบบ Affiliate Marketing นั้นเป็นวิธีการใหม่ที่ช่วยเพิ่มรายได้และเพิ่มประสิทธิภาพของการขยายฐานลูกค้าที่ผู้ได้รับประโยชน์นั้นจะมีทั้ง 2 ฝั่ง ดังนี้
1. Affiliate Marketing ที่มีต่อธุรกิจหรือแบรนด์
ข้อดีของ
- สามารถเพิ่มยอดการสั่งซื้อได้
- ช่วยเพิ่มช่องทางการขยายฐานสินค้าให้กลุ่มเป้าหมายกว้างขึ้น
- สามารถใช้วัดผลทางการตลาดในเชิงของกลยุทธ์ Influencer Marketing ได้ว่า Influencer ท่านใดสามารถส่วนเพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อจะได้นำไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนทำการตลาดในไตรมาสหน้าได้ว่าจะต่อสัญญากับ Influencer ท่านไหน
ข้อเสีย
- เป็นการทำการตลาดที่ต้องพึ่งคนกลางก็คือเหล่า Publisher / Influencer /KOLS เท่านั้น หากเลือกผิดก็อาจจะต้องเสียเวลาในการวางแผนใหม่
- เป็นการทำการตลาดที่ต้องใช้เวลาในการวัดผลอย่างน้อย 2-3 เดือน
M Creation แนะนำ
นอกจากบทความแล้วทาง M Creation ของเรายังมีบริการ ยิงแอดไอจี และ Google Ads ให้ท่านที่สนใจได้ใช้บริการอีกด้วย
2. Affiliate Marketing ที่มีต่อ Publisher / Influencer /KOLS
ข้อดี
- ช่วยเพิ่มรายได้เพราะเพียงโพสต์สินค้าพร้อม Code หรือ link ลงไป เมื่อมีคนคลิกและสั่งซื้อ คุณก็จะได้รับผลตอบแทนตลอดเวลา
- ไม่จำเป็นดูแลร้านค้า สต๊อกสินค้าและส่งของเอง เพราะ Influencer เป็นเพียงตัวกลางเท่านั้น เมื่อกลุ่มเป้าหมายกดเข้าไปซื้อสินค้าในช่องทางหลักของแบรนด์เอง
- สะดวก ทำง่าย และสามารถเพิ่มรายได้อย่างต่อเนื่อง
- ไม่มีข้อจำกัดในการทำงาน
ข้อเสีย
ค่าตอบแทนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ Customer กรอก Code หรือ กดเข้าไปใน Link ที่กำหนดหรือสร้างมาระบุตัวตนถึงคุณเท่านั้น ในกรณีที่ Customer กดเข้าไปสั่งซื้อผ่านช่องทางอื่นโดยที่ไม่กรอก กรอก Code หรือ กดผ่าน Link ที่กำหนดก็จะไม่ได้รับผลตอบแทน
ธุรกิจที่เริ่ม Affiliate Marketing ในไทย มีหรือไม่?
ในปัจจุบันการทำธุรกิจแบบ Affiliate Marketing อาจจะยังไม่แพร่หลายนักในประเทศไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ แต่ว่าก็แบรนด์ที่เริ่มใช้กลยุทธ์นี้ทางการตลาดบ้างแล้ว เช่น Involve Asia / Accesstrade / Priceza / Lazada /Affiliate Program และ Shopee Affiliates
อยากทำการตลาดแบบ Affiliate marketing เริ่มต้นอย่างไร
สำหรับธุรกิจหรือแบรนด์ใดที่ต้องการลองทำการตลาดแบบ Affiliate Marketing สิ่งแรกที่คุณจะต้องมีก็คือ มีสินค้าจริงที่พร้อมวางขาย หรือ ใกล้วางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ จากนั้นควรเลือก Publisher / Influencer /KOLS ที่มีคุณสมบัติที่ดี มี Engagement มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตาม มีความเชื่อถือสูง และควรมีผู้ติดตามที่มีแนวโน้มว่าสามารถเปลี่ยนมาเป็นผู้บริโภคของแบรนด์ได้ ซึ่งหากคุณสามารถเลือก Publisher / Influencer /KOLS ผิดก็จะทำให้แผนการตลาดพลาดได้ หรือเลวร้ายที่สุดคือ แบรนด์อาจจะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อผู้บริโภค ดังนั้น ใช้บริการ Agency Influencer ในการเลือกจ้าง Influencer เพราะเอเจนซี่จะรู้จัก Influencer ที่หลากหลาย
แต่สำหรับใครที่อยากมีรายได้เข้ามาแบบปังๆ เรื่อยๆ ตลอดปีแบบนี้แต่ยังไม่มีเพจ หรือช่องทางออนไลน์เป็นของตัวเอง ก็สามารถสร้างช่องทางออนไลน์ตามที่ถนัดได้ จากนั้นก็นำเสนอคอนเทนต์ที่ดึงดูดให้ผู้ติดตามสนใจเพื่อผันตัวเองให้กลายเป็น Publisher / Influencer /KOLS ได้ และเมื่อคุณมีผู้ติดตามอย่างน้อย 1,000 คนขึ้นไป คุณก็สามารถโพสต์ลงโฆษณารีวิวสินค้า หรือมาทำ Affiliate Marketing ได้แล้วครับ