Linkedin Thailand ช่องทางหางานเพิ่มโอกาสเจอคนที่ใช่งานที่ชอบ

Table of Contents

ในปัจจุบันช่องทางการหางานและรับสมัครพนักงานสำหรับบริษัทนั้นมีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย ทั้งเว็บไซต์หางานโดยตรง และในโซเชียลมีเดียอย่างในเพจ-กลุ่มสาธารณะใน Facebook ที่กำลังมาแรง เนื่องจากสามารถสอบถามรายละเอียดงานได้โดยตรงกับ HR ที่นำมาโพสต์ 

แต่ว่าก็มีอีกหนึ่งช่องทางที่เรียกว่ากำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแพลตฟอร์ม LinkedIn ซึ่งก็เป็นช่องทางโซเชียลมีเดียอีกที่หนึ่ง ที่มีความผสมผสานระหว่างเว็บหางาน + แพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็วต่อการสมัครงานเช่นเดียวกัน แต่ว่าอาจจะมีหลายคนที่อาจจะเพิ่งได้ยินคำว่า “LinkedIn” และยังรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยว่า มีความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับ LinkedIn มานำเสนอให้อ่าน และจะได้ช่วยตัดสินใจได้ว่า ควรฝากข้อมูลส่วนตัวหรือประวัติการทำงานไว้หรือไม่?

ทำความรู้จักกับ Linkedin Thailand 

LinkedIn คือเครือข่ายมืออาชีพบนโซเชียลมีเดียประเภทหนึ่งที่วัตถุประสงค์หลัก ๆ ของ LinkedIn คือ แพลตฟอร์มที่เชื่อมกลุ่มคนที่มีทักษะเฉพาะ สายอาชีพ ความรู้ที่จำเป็นต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะที่ใช้ในการหางานหรือนำไปพัฒนาธุรกิจ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก คุณสามารถใช้ LinkedIn ในการหางานหรือการฝึกงานที่ใช่ ทำความรู้จักและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางอาชีพ และเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการประสบความสำเร็จในอาชีพ

ดังนั้นบน LinkedIn นั้นจึงเต็มไปด้วยผู้ที่มีทักษะเฉพาะในสายอาชีพที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ มีชุมชน (Community) ร่วมกันที่ใครก็สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลและแชร์ความรู้กันได้ ซึ่งหากเป็นนักเรียน-นักศึกษาที่กำลังศึกษาสายงานนี้ หรือกำลังใกล้เรียนจบแล้วอยากทราบว่าอาชีพที่สนใจนั้นมีสังคมเครือข่ายอย่างไรก็มาสามารถเข้ามาดูใน LinkedIn ได้

ในมุมของผู้สมัครงานและธุรกิจที่ต้องการหาพนักงานที่มีทักษะเฉพาะเข้ามาช่วยพัฒนาองค์กร ก็สามารถใช้ LinkedIn เป็นสื่อกลางได้เช่นกัน เพราะว่าใน LinkedIn ก็มีฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเฉพาะที่สามารถช่วยให้ผู้สมัครงานสามารถใส่ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ทักษะพิเศษที่เหล่า HR ตัวแทนบริษัทที่กำลังมองหาพนักงานเข้ามาดูได้ หากมีความสนใจในตัวพนักงานคนนั้นก็จะสามารถเชื่อมต่อและติดต่อกันได้แบบออนไลน์ เพื่อว่าจ้างได้ทันที ไม่ต้องรอเหมือนแพลตฟอร์มอื่น ๆ 

จุดเด่นของ LinkedIn ที่แตกต่างกับแพลตฟอร์มหางานทั่วไป 

LinkedIn มีฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า LinkedIn Profile ที่ผู้ใช้งานนั้นสามารถใส่รูป กรอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และทักษะต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน และสามารถปรับแต่งได้ง่าย มีรูปแบบฟอร์มที่เป็นทางการแบบสากล ลักษณะของหน้าโปรไฟล์จะมีความคล้ายกับหน้าฟีด (Feed) บน Facebook ในหน้าโปรไฟล์นั้นนอกจากจะสามารถใส่ข้อมูลส่วนตัวแล้ว ผู้ใช้งานยังสามารถอัปโหลด Certifications, Patents, Publications, Test Scores ต่าง ๆ ที่จำเป็นกับสายอาชีพได้ และยังสามารถระบุ Support Languages ในภาษาต่าง ๆ ได้เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางานได้มากขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้บน LinkedIn ก็มีฟีเจอร์ที่ชื่อว่า My Network ลักษณะของฟีเจอร์นี้ก็คือจะเป็นคล้าย ๆ การเพิ่มเพื่อน คือ ผู้ใช้งานสามารถค้นหาและกดติดตามผู้ที่มีทักษะการทำงานที่ตรงกัน เพื่อนร่วมงาน คนที่รู้จัก หรือผู้ที่มีอิทธิพลในสายงานไว้ได้ด้วย ซึ่งการติดตามนั้นก็จะสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ต่าง ๆ กับคน ๆ นั้นได้ ถือเป็นการเพิ่ม Connection อย่างหนึ่งให้กับตนเอง

LinkedIn รองรับทั้งหมดกี่ภาษา

LinkedIn มีการเติบโตในหลากหลายประเทศ ทำให้มีการรองรับภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกมากมาย เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเกาหลี ภาษาอาหรับ ภาษามลายู ภาษาจีน (ประยุกต์)  ภาษาจีน (ดั้งเดิม) ภาษานอร์เวย์ ภาษาโปแลนด์ ภาษาเช็ก ภาษาโปรตุเกส ภาษาเดนมาร์ก ภาษาโรมาเนีย ภาษาดัตช์ ภาษารัสเซีย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาสวีเดน ภาษาฮินดี ภาษาไทย ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาตุรกี ภาษาอิตาลี ภาษายูเครน และภาษาญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สะดวกแก่ผู้ที่สนใจใช้ LinkedIn หางานต่างประเทศ เพราะสามารถหางานตามภูมิภาคประเทศที่รองรับได้นั่นเอง 

วิธีเริ่มใช้งานบน LinkedIn 

หากคุณต้องการมีข้อมูลโปรไฟล์เป็นของตัวเองบนแพลตฟอร์ม LinkedIn สามารถเริ่มขั้นตอนในการใช้งานได้ดังนี้ 

1. สร้างโปรไฟล์ linkedIn

LinkedIn สมัครเข้าใช้งานได้ที่ https://th.linkedin.com/ หลังจากที่มีบัญชีแล้วถึงจะสามารถสร้างโปรไฟล์ได้ เคล็ดลับการสร้างสร้างโปรไฟล์ให้น่าสนใจ คือ ควรเลือกรูปที่สุภาพ เห็นใบหน้าชัดเจน ใส่รายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ทักษะการทำงานให้ละเอียดและควรที่สอดคล้องกับสายอาชีพเพื่อเพิ่มโอกาสและดึงดูดความสนใจของ HR 

การใส่งานอดิเรกที่เกี่ยวข้องกับความชื่นชอบส่วนตัว สามารถใส่ได้ เพราะส่วนนี้สามารถใช้ประเมินบุคลิกส่วนตัวของเราได้ ทำให้ HR สามารถประเมินได้ว่า คุณนั้นเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรที่บริษัทหรือไม่ แต่คุณไม่ควรใส่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องงานอดิเรก หรือความชอบส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพ 

2. สร้างเครือข่าย LinkedIn My Network

คุณสามารถค้นหาเพื่อนร่วมงาน คนรู้จักเพื่อกดติดตามได้ เป็นการสร้างเครือข่ายสังคมส่วนตัวของคุณหลังจากที่กดติดตามแล้ว คุณจะได้รับข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทางออนไลน์ของบุคคลนั้น ๆ และสามารถติดต่อพูดคุยกันได้ นอกจากนี้หากมีกิจกรรมที่มีแนวโน้มว่าคุณจะสนใจ ระบบจะมีการแจ้งเตือนเพื่อเชิญชวนให้คุณเข้าร่วมด้วย ถือว่าเป็นฟังก์ชันที่สะดวกมาก ๆ และยังช่วยให้คุณสามารถพบเจอคนที่มีทักษะคล้าย ๆ กันที่สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาการทำงานได้รวดเร็ว

M Creation แนะนำ

นอกจากบทความแล้วทาง M Creation ของเรายังมีบริการ Linkedin Ads, Google Ads และ รับทำ TikTok Ads ตลอดไปจนถึง Facebook Ads ให้ท่านที่สนใจได้ใช้บริการอีกด้วย

 

3. ใช้ LinkedIn หางาน

สามารถใช้ LinkedIn หางานได้ เนื่องจากใน LinkedIn นั้นมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณสามารถมองหาโอกาสทางอาชีพใหม่ ๆ ได้ เนื่องจากหลังจากที่คุณสร้างโปรไฟล์ส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว หากทักษะของคุณเป็นที่ถูกตาต้องใจกับ HR ที่กำลังมองหาพนักงานอยู่ HR บริษัทนั้น ๆ สามารถติดต่อกับคุณได้โดยตรงโดยที่คุณไม่ต้องยื่นใบสมัคร หรือ ถ้าคุณพบประกาศหาคนในบริษัทที่คุณกำลังสนใจอยู่ คุณก็สามารถกดส่งใบสมัครได้ทันทีโดยในการส่งนั้นคุณไม่จำเป็นต้องส่งใบสมัครทางอีเมล หรือออกนอกแพลตฟอร์มเลย เพราะใน  LinkedIn คุณสามารถแนบ CV ลงไปได้เลยในคลิกเดียว หรือจะแชทสดส่วนตัวเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมก็ได้ เรียกได้ว่าสามารถส่งใบสมัครได้สะดวกและรวดเร็วที่สุดเลย 

สายงานที่เปิดรับสมัครบน LinkedIn นั้นก็มีหลากหลายประเภท แต่ว่าส่วนใหญ่งานที่เปิดรับสมัครบนแพลตฟอร์ม LinkedIn Thailand จะเป็นสายงานที่เกี่ยวข้องกับทักษะเฉพาะทางเช่น 

  • Digital content
  • Data analyst
  • Software & Technology
  • Finance & insurance
  • Education
  • Digital marketing
  • Business development and sales
  • Health-care/medical support.

LinkedIn หางานยังไง

วิธีสมัครงานที่ประกาศไว้ใน LinkedIn สามารถทำได้ตามขั้นตอนนี้ 

  1. คลิกที่ตำแหน่งงานเพื่อดูรายละเอียด
  2. คลิกปุ่ม สมัครอย่างง่าย / สมัครตอนนี้ ที่อยู่ด้านบนสุดของโพสต์
  3. ใส่ข้อมูลที่จำเป็นตามแบบฟอร์ม 
  4. ตรวจสอบใบสมัครให้ครบถ้วนแล้วกดส่งใบสมัคร

4. ใส่ Resume ใน LinkedIn ยังไง

วิธีใส่ Resume ลงไปในแพลตฟอร์ม สามารถทำได้ด้วยวิธีการคือ ให้เข้าไปที่เมนู การตั้งค่าใบสมัครงาน โดยคลิกที่ “อัปโหลด” ซึ่งอยู่ในบริเวณใต้เมนูประวัติย่อ โดยระบบจะเก็บ Resume ที่คุณอัปโหลดไว้ใน 4 รายการล่าสุดไว้ เพื่อให้คุณสามารถไปใช้ในการสมัครงานในอนาคตได้ โดยขนาดของ Resume ที่เหมาะสมคือ ควรมีขนาดไม่เกิน 2MB และรูปแบบไฟล์ควรเป็น Microsoft Word หรือ PDF เท่านั้น

การโพสต์เนื้อบน LinkedIn

ผู้ใช้งานสามารถโพสต์เนื้อหาบน LinkedIn ได้ทั้งในรูปแบบข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เอกสาร แชร์ลิงก์บทความ โดยในการโพสต์เนื้อหานั้น ๆ ผู้ใช้งานรายอื่น ๆ สามารถเข้ามาแสดงความเห็นได้อย่างเสรี โดยเนื้อหานั้น ๆ จะต้องมีประโยชน์ ไม่ขัดต่อนโยบายชุมชนดังนี้ 

  • เนื้อหาที่โพสต์จะต้องไม่มีเนื้อหาล่วงละเมิด การบูลลี่ (Bully,Cyberbullying) ก่อกวน โจมตีส่วนตัว สร้างความอับอาย การดูหมิ่น และภาษาที่ไม่เหมาะสมที่เป็นภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัว
  • ห้ามโพสต์เนื้อที่มีข่มขู่ ยั่วยุ หรือสร้างความเกลียดชัง สนับสนุนความรุนแรง การทำลายทรัพย์สิน หรือสนับสนุนให้ก่ออาชญากรรมที่จัดขึ้น 
  • ไม่มีเนื้อหาที่การแสวงประโยชน์ทางเพศต่อผู้เยาว์ การล่วงละเมิด และนโยบายเกี่ยวกับภาพเปลือยของผู้เยาว์
  • ห้ามโพสต์เนื้อหาใบรับรองการศึกษาและ / หรือวิชาชีพปลอม การขายข้อมูลที่คัดลอกมา การทดสอบพร็อกซี่ (Proxy) หรือคำแนะนำในการสร้างเอกสารทางการปลอมแปลง 
  • ห้ามโพสต์เนื้อหาที่เข้าข่ายการพนัน ลอตเตอรี่ การแข่งขัน การชิงโชค หรือการแจกของรางวัล 
  • ห้ามแบ่งปันเนื้อหาที่เป็นเท็จหรือสร้างความเข้าใจผิด เนื้อหาที่เป็นเท็จ หรือทำให้เข้าใจผิด หรือหลอกลวงเกี่ยวกับตัวคุณเอง ธุรกิจของคุณ
  • ห้ามโพสต์เนื้อหาหลอกลวง ฉ้อฉล ฉ้อโกงผู้อื่น ส่งเสริมแผนธุรกิจแบบพีระมิด 
  • ห้ามลงเนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือมีเนื้อหาที่สร้างความตื่นตระหนก ตกใจ เช่น เนื้อหาที่น่าสยดสยอง ภาพการบาดเจ็บทางร่างกาย การทารุณ ความรุนแรงทางร่างกายหรือทางเพศอย่างรุนแรง 
  • ห้ามเนื้อหาที่ส่งเสริมการประดิษฐ์อาวุธ การเสพสิ่งเสพติด และการขู่โจรกรรม 
  • ห้ามมีส่วนร่วมหรือส่งเสริมบริการเพื่อนเที่ยว การค้าประเวณี การค้ามนุษย์ 
  • ห้ามเนื้อหาที่ส่งเสริมการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเองรูปแบบใดก็ตาม 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

LinkedIn สามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์หลากหลาย ทั้งเดสก์ท็อป เบราว์เซอร์บนมือถือ หรือจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนมือถือก็สามารถทำได้ ทั้งระบบ iOS และ Android 

วิธีการติดต่อ LinkedIn Thailand นั้นโดยส่วนใหญ่จะติดต่อผ่าน LinkedIn Help หรือศูนย์บริการช่วยเหลือลูกค้า ที่นี่ > https://www.linkedin.com/help/linkedin หรือใช้ LinkedIn Thailand เบอร์โทร (650) 687-3555 หรือ (650) 687-3600 ติดต่อเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น 

แต่ถ้าคุณเป็นบัญชี LinkedIn Premium คุณจะมีช่องแชทที่สามารถติดต่อกับตัวแทนของเราฝ่ายบริการลูกค้า หากต้องการเริ่มแชทสดโดยตรงที่เมนูแชทขอความช่วยเหลือ “Assistant” แต่ว่าการพูดคุยจะใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น

Share :

เรื่องการตลาดออนไลน์ ที่เราคิดว่าคุณควรต้องรู้!

ลองอ่านดู เราเชื่อว่าคุณจะได้อะไรดีๆกลับไป เพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณอย่างแน่นอน